Cloud Native คืออะไร
Cloud Native คือแนวทางที่ซอฟต์แวร์ใช้ในการสร้าง ปรับใช้ และจัดการแอปพลิเคชันที่ทันสมัยในสภาพแวดล้อมการประมวลผลบนคลาวด์ บริษัทสมัยใหม่ต้องการสร้างแอปพลิเคชันที่ปรับขนาดได้ มีความยืดหยุ่น และคืนสภาพได้สูงซึ่งสามารถอัปเดตได้อย่างรวดเร็วเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า เพื่อทำเช่นนั้น พวกเขาจึงใช้เครื่องมือและเทคนิคที่ทันสมัยซึ่งโดยธรรชาติแล้วรองรับการพัฒนาแอปพลิเคชันบนโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์ เทคโนโลยี Cloud Native เหล่านี้รองรับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและบ่อยในแอปพลิเคชันโดยไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งมอบบริการ ซึ่งทำให้ผู้ทดลองใช้งานได้รับนวัตกรรมและข้อได้เปรียบในการแข่งขัน
แนวทางแบบ Cloud-Native มีประโยชน์ต่อธุรกิจอย่างไร
องค์กรได้รับข้อได้เปรียบในการแข่งขันในรูปแบบต่างๆ เมื่อสร้างแอปพลิเคชันซอฟต์แวร์ Cloud-Native
เพิ่มประสิทธิภาพ
การพัฒนา Cloud-Native นั้นมาพร้อมกับแนวทางปฏิบัติที่คล่องตัวอย่าง DevOps และกระบวนการส่งออกโค้ดแบบอัตโนมัติ (CD) นักพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้เครื่องมืออัตโนมัติ บริการคลาวด์ และวัฒนธรรมการออกแบบที่ทันสมัยเพื่อสร้างแอปพลิเคชันที่ปรับขนาดได้อย่างรวดเร็ว
ลดต้นทุน
ด้วยการนำวิธีการแบบ Cloud-Native มาใช้ บริษัทไม่จำเป็นต้องลงทุนในการจัดซื้อและการบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพที่มีราคาแพง ซึ่งส่งผลให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานได้ในระยะยาว การประหยัดค่าใช้จ่ายในการสร้างโซลูชัน Cloud-Native ยังเป็นประโยชน์ต่อลูกค้าของคุณอีกด้วย
พร้อมใช้งานเสมอ
เทคโนโลยี Cloud-Native ช่วยให้บริษัทสามารถสร้างแอปพลิเคชันที่มีความยืดหยุ่นและพร้อมใช้งานได้สูง การอัปเดตฟีเจอร์ไม่ทำให้หยุดทำงาน และบริษัทต่างๆ สามารถเพิ่มทรัพยากรแอปในช่วงฤดูที่ใช้งานสูงเพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีแก่ลูกค้าได้
เรียกใช้แอปพลิเคชันแบบ Cloud-Native
แอปพลิเคชัน Cloud-Native เป็นโปรแกรมซอฟต์แวร์ที่ประกอบด้วยไมโครเซอร์วิสขนาดเล็กมากมายที่พึ่งพากัน โดยทั่วไปแล้ว นักพัฒนาซอฟต์แวร์สร้างแอปพลิเคชันแบบโมโนลิธด้วยโครงสร้างบล็อกเดียวที่มีฟังก์ชันการทำงานที่จำเป็นทั้งหมด ด้วยวิธีการ Cloud-Native นักพัฒนาซอฟต์แวร์จะแบ่งฟังก์ชันการทำงานเป็นไมโครเซอร์วิสขนาดเล็ก ทำให้แอปพลิเคชัน Cloud-Native มีความคล่องตัวมากขึ้นเนื่องจากไมโครเซอร์วิสเหล่านี้ทำงานได้อย่างอิสระและใช้ทรัพยากรการประมวลผลน้อยที่สุดในการทำงาน
แอปพลิเคชัน Cloud-Native เมื่อเทียบกับแอปพลิเคชันระดับองค์กรแบบดั้งเดิม
แอปพลิเคชันองค์กรแบบดั้งเดิมถูกสร้างขึ้นโดยใช้วิธีการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีความยืดหยุ่นน้อย นักพัฒนามักจะสร้างฟังก์ชันซอฟต์แวร์แบตช์ใหญ่ก่อนที่จะปล่อยออกมาเพื่อทดสอบ ด้วยเหตุนั้น แอปพลิเคชันองค์กรแบบเดิมจึงใช้เวลานานในการนำไปใช้ได้จริงและไม่สามารถปรับขนาดได้
ในทางกลับกันแอปพลิเคชัน Cloud-Native ใช้วิธีการทำงานร่วมกันและสามารถปรับขนาดได้สูงบนแพลตฟอร์มมากมาย นักพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้เครื่องมือซอฟต์แวร์เพื่อทำให้การสร้าง การทดสอบ และการนำแอปพลิเคชัน Cloud-Native ไปใช้จริงเป็นไปโดยอัตโนมัติ คุณสามารถตั้งค่า ปรับใช้ หรือคัดลอกไมโครเซอร์วิสได้ในทันที ซึ่งไม่สามารถทำได้กับแอปพลิเคชันแบบเดิม
CNCF คืออะไร
Cloud Native Computing Foundation (CNCF) เป็นฐานโอเพนซอร์สที่ช่วยให้องค์กรเริ่มต้นเส้นทางCloud-Native ของตนเองได้ CNCF ก่อตั้งขึ้นในปี 2015 เพื่อสนับสนุนชุมชนโอเพนซอร์สในการพัฒนาส่วนประกอบที่สำคัญใน Cloud-Native ซึ่งรวมถึง Kubernetes Amazon เป็นสมาชิกของ CNCF
สถาปัตยกรรมแอปพลิเคชัน Cloud-Native คืออะไร?
สถาปัตยกรรมระบบ Cloud-Native ผสมผสานส่วนประกอบซอฟต์แวร์ที่ทีมพัฒนาใช้ในการสร้างและรันแอปพลิเคชัน Cloud-Native ที่ปรับขนาดได้ CNCF ประกอบไปด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่เปลี่ยนแปลง ไมโครเซอร์วิส API แบบประกาศ คอนเทนเนอร์ และกลุ่มบริการเป็นบล็อกเทคโนโลยีของสถาปัตยกรรมระบบ Cloud-Native
โครงสร้างพื้นฐานที่ไม่เปลี่ยนแปลง
โครงสร้างพื้นฐานที่ไม่เปลี่ยนรูปหมายความว่าเซิร์ฟเวอร์สำหรับโฮสต์แอปพลิเคชันแบบ Cloud-Native จะยังคงไม่เปลี่ยนแปลงหลังจากนำไปใช้จริง หากแอปพลิเคชันต้องการทรัพยากรในการประมวลผลมากขึ้น เซิร์ฟเวอร์เก่าจะถูกยกเลิกและแอปจะถูกย้ายไปยังเซิร์ฟเวอร์ใหม่ที่ประสิทธิภาพสูง ด้วยการหลีกเลี่ยงการอัปเกรดด้วยตนเอง โครงสร้างพื้นฐานที่ไม่เปลี่ยนรูปทำให้การนำ Cloud-Native ไปใช้จริงนั้นเป็นกระบวนการที่คาดการ์ดได้
ไมโครเซอร์วิส
ไมโครเซอร์วิสเป็นส่วนประกอบซอฟต์แวร์อิสระขนาดเล็กที่ร่วมกันดำเนินการเป็นซอฟต์แวร์ Cloud-Native ที่สมบูรณ์ ไมโครเซอร์วิสแต่ละมุ่งเน้นไปที่ปัญหาขนาดเล็กและเฉพาะเจาะจง ไมโครเซอร์วิสจะจับคู่กันแบบหลวมๆ ซึ่งหมายความว่าเป็นส่วนประกอบซอฟต์แวร์อิสระที่สื่อสารกัน นักพัฒนาซอฟต์แวร์ทำการเปลี่ยนแปลงแอปพลิเคชันโดยการทำงานกับไมโครเซอร์วิสแต่ละส่วน ด้วยวิธีดังกล่าว แอปพลิเคชันจะยังคงทำงานแม้ว่าไมโครเซอร์วิสหนึ่งส่วนจะล้มเหลว
API
Application Programming Interface (API) เป็นวิธีการที่โปรแกรมซอฟต์แวร์ตั้งแต่สองโปรแกรมขึ้นไปใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล Cloud-Native ใช้ API เพื่อนำไมโครเซอร์วิสจับคู่เข้าด้วยกันหลวมๆ API จะบอกคุณว่าไมโครเซอร์วิสต้องการข้อมูลใดและจะแสดงผลลัพธ์อะไร แทนการระบุขั้นตอนเพื่อให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์นั้น
โครงข่ายการบริการ
ตาข่ายบริการเป็นเลเยอร์ซอฟต์แวร์ในโครงสร้างพื้นฐานของระบบคลาวด์ที่จัดการการสื่อสารระหว่างไมโครเซอร์วิสหลายส่วน นักพัฒนาใช้ตาข่ายบริการในการแนะนำฟังก์ชั่นเพิ่มเติมโดยไม่ต้องเขียนรหัสใหม่ในแอปพลิเคชัน
คอนเทนเนอร์
คอนเทนเนอร์เป็นหน่วยคำนวณที่เล็กที่สุดในแอปพลิเคชัน Cloud-Native ซึ่งเป็นองค์ประกอบของซอฟต์แวร์ที่อัดแน่นไปด้วยโต้ดไมโครเซอร์วิสและไฟล์ที่จำเป็นอื่นๆ ในระบบ Cloud-Native ด้วยการทำคอนเทนเนอร์ไมโครเซอร์วิส แอปพลิเคชันระบบ Cloud-Native จะทำงานเป็นอิสระจากระบบปฏิบัติการพื้นฐานและฮาร์ดแวร์ ซึ่งหมายความว่านักพัฒนาซอฟต์แวร์สามารถใช้แอปพลิเคชัน Cloud-Native ในองค์กร ในโครงสร้างพื้นฐานของระบบคลาวด์ หรือคลาวด์ไฮบริดก็ได้ นักพัฒนาใช้คอนเทนเนอร์ในการบรรจุไมโครเซอร์วิสที่พึ่งพากันและกัน เช่น ไฟล์ทรัพยากร ไลบรารี และสคริปต์ที่แอปพลิเคชันหลักต้องใช้ในการทำงาน
ประโยชน์ของคอนเทนเนอร์
ตัวอย่างประโยชน์ของคอนเทนเนอร์ ได้แก่:
- การใช้ทรัพยากรการประมวลผลน้อยกว่าการนำแอปพลิเคชันทั่วไปไปใช้จริง
- คุณสามารถนำไปใช้จริงได้ทันที
- คุณสามารถปรับขนาดทรัพยากรการประมวลผลบนคลาวด์ที่แอปพลิเคชันของคุณต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
การพัฒนาแอปพลิเคชัน Cloud-Native คืออะไร
การพัฒนาแอปพลิเคชัน Cloud-Native จะอธิบายวิธีการที่นักพัฒนาสร้างและปรับใช้แอปพลิเคชัน Cloud-Native การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการพัฒนา Cloud-Native นักพัฒนาซอฟต์แวร์นำแนวทางปฏิบัติเฉพาะของซอฟต์แวร์มาใช้เพื่อลดระยะเวลาการส่งมอบซอฟต์แวร์และส่งมอบคุณสมบัติที่ถูกต้องตรงตามความคาดหวังของผู้ใช้ที่เปลี่ยนแปลงไป เรามีหลักปฏิบัติเพื่อพัฒนาระบบ Cloud-Native ดังต่อไปนี้
การผสานการทำงานอย่างต่อเนื่อง
กระบวนการผสานการทำงานอย่างต่อเนื่อง (CI) คือแนวทางปฏิบัติของซอฟต์แวร์ที่นักพัฒนาติดตั้งการเปลี่ยนแปลงลงในฐานโค้ดที่ใช้ร่วมกันบ่อยและไม่มีข้อผิดพลาด การเปลี่ยนแปลงทแก้ไขเล็กๆ และบ่อยครั้งทำให้การพัฒนามีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากคุณสามารถระบุและแก้ไขปัญหาได้เร็วขึ้น เครื่องมือ CI จะประเมินคุณภาพโค้ดในทุกการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ทีมพัฒนาสามารถเพิ่มคุณสมบัติใหม่อย่างมีความมั่นใจมากขึ้น
การส่งมอบอย่างต่อเนื่อง
กระบวนการส่งออกโค้ดแบบอัตโนมัติ (CD) คือแนวทางปฏิบัติสำหรับซอฟต์แวร์ที่สนับสนุนการพัฒนา Cloud-Native ด้วย CD ทีมพัฒนาจึงมั่นใจได้ว่าไมโครเซอร์วิสนั้นพร้อมที่จะนำไปใช้งานบนระบบคลาวด์เสมอ พวกเขาใช้เครื่องมืออัตโนมัติสำหรับซอฟต์แวร์เพื่อลดความเสี่ยงเมื่อทำการเปลี่ยนแปลง เช่น การนำเสนอคุณลักษณะใหม่ๆ และแก้ไขข้อบกพร่องในแอปพลิเคชัน CI และ CD ทำงานร่วมกันเพื่อสร้างซอฟต์แวร์ที่มีประสิทธิภาพ
DevOps
DevOps เป็นวัฒนธรรมซอฟต์แวร์ที่ช่วยปรับปรุงการทำงานร่วมกันของทีมพัฒนาและฝ่ายปฏิบัติการ ซึ่งเป็นปรัชญาการออกแบบที่สอดคล้องกับรูปแบบ Cloud-Native แนวทางปฏิบัติ DevOps ช่วยให้องค์กรสามารถเร่งวงจรการพัฒนาซอฟต์แวร์ได้ นักพัฒนาและวิศวกรฝ่ายปฏิบัติการใช้เครื่องมือ DevOps เพื่อทำให้การพัฒนา Cloud-Native เป็นไปโดยอัตโนมัติ
ไร้เซิร์ฟเวอร์
คอมพิวเตอร์แบบไม่ต้องใช้เซิร์ฟเวอร์ เป็นรูปแบบ Cloud-Native ที่ผู้ให้บริการระบบคลาวด์จัดการโครงสร้างพื้นฐานของเซิร์ฟเวอร์พื้นฐานได้อย่างเต็มที่ นักพัฒนาใช้คอมพิวเตอร์แบบไม่ต้องใช้เซิร์ฟเวอร์เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานของระบบคลาวด์จะปรับขนาดและกำหนดค่าให้ตรงกับความต้องการของแอปพลิเคชันโดยอัตโนมัติ นักพัฒนาซอฟต์แวร์จะชำระค่าใช้จ่ายเฉพาะทรัพยากรที่แอปพลิเคชันใช้เท่านั้น สถาปัตยกรรมแบบไม่ต้องใช้เซิร์ฟเวอร์จะลบทรัพยากรการประมวลผลทิ้งโดยอัตโนมัติเมื่อแอปหยุดทำงาน
การพัฒนาแอปพลิเคชัน Cloud-Native มีประโยชน์อย่างไรบ้าง
พัฒนาได้เร็วขึ้น
นักพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้วิธีการแบบ Cloud-Native เพื่อลดเวลาในการพัฒนาและได้มาซึ่งแอปพลิเคชันที่มีคุณภาพดียิ่งขึ้น แทนที่จะอาศัยโครงสร้างพื้นฐานของฮาร์ดแวร์ใดฮาร์ดแวร์หนึ่งโดยเฉพาะ นักพัฒนาเลือกที่จะสร้างแอปพลิเคชันที่มีคอนเทนเนอร์แบบพร้อมนำไปใช้จริงและแนวทางแบบ DevOps ซึ่งจะช่วยให้นักพัฒนาตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว ตัวอย่างเช่น พวกเขาสามารถทำการอัปเดตทุกวันได้หลายรายการโดยไม่ต้องปิดแอป
ความเป็นอิสระจากแพลตฟอร์ม
ด้วยการสร้างและปรับใช้แอปพลิเคชันในระบบคลาวด์ นักพัฒนาจึงมั่นใจในความสม่ำเสมอและความเสถียรของสภาพแวดล้อมการทำงานได้ พวกเขาไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับความเข้ากันไม่ได้ของฮาร์ดแวร์เพราะผู้ให้บริการระบบคลาวด์จะรับผิดชอบเรื่องนั้นเอง ดังนั้นนักพัฒนาสามารถมุ่งเน้นไปที่การสร้างคุณค่ากับแอปแทนที่จะการสร้างโครงสร้างพื้นฐานได้
การดำเนินงานที่คุ้มค่า
คุณจ่ายค่าบริการสำหรับทรัพยากรที่แอปพลิเคชันของคุณใช้งานจริงเท่านั้น ตัวอย่างเช่น หากการเข้าชมของผู้ใช้ของคุณพุ่งสูงขึ้นโดยเฉพาะในช่วงเวลาหนึ่งของปี คุณจะจ่ายค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับช่วงเวลานั้นเท่านั้น คุณไม่จำเป็นต้องจัดหาทรัพยากรพิเศษที่ไม่ได้ใช้งานเป็นเวลาส่วนใหญ่ของปี
สแต็ค Cloud-Native คืออะไร
สแต็ก Cloud-Native คือเลเยอร์ของเทคโนโลยี Cloud-Native ที่นักพัฒนาใช้ในการสร้าง จัดการ และเรียกใช้แอปพลิเคชัน Cloud-Native โดยมีการแบ่งประเภทดังนี้
เลเยอร์โครงสร้างพื้นฐาน
ชั้นโครงสร้างพื้นฐานเป็นรากฐานของสแต็ค Cloud-Native โดยประกอบด้วยระบบปฏิบัติการ พื้นที่จัดเก็บ เครือข่ายและทรัพยากรคอมพิวเตอร์อื่นๆ ที่มีการจัดการโดยผู้ให้บริการคลาวด์บุคคลที่สาม
เลเยอร์การจัดเตรียม
เลเยอร์การจัดเตรียมประกอบด้วยบริการคลาวด์ที่จัดสรรและปรับแต่งค่าสภาพแวดล้อมของระบบคลาวด์
เลเยอร์รันไทม์
เลเยอร์รันไทม์นั้นจะมอบเทคโนโลยี Cloud-Native ให้แก่คอนเทนเนอร์เพื่อทำงาน ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่เก็บข้อมูล ความสามารถในการเชื่อมต่อเครือข่าย และรันไทม์ของคอนเทนเนอร์ เช่น Containerd
การควบคุมระบบและการจัดการเลเยอร์
การควบคุมระบบและการจัดการนั้นมีหน้าที่รับผิดชอบการบูรณาการส่วนประกอบคลาวด์ต่างๆ ให้ทำงานเป็นหน่วยเดียว ซึ่งคล้ายกับวิธีการทำงานของระบบปฏิบัติการในการประมวลผลแบบดั้งเดิม นักพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้เครื่องมือการควบคุมระบบ เช่น Kubernetes ในการปรับใช้ จัดการ และปรับขนาดแอปพลิเคชันคลาวด์ในเครื่องต่างๆ
คำจำกัดความของแอปพลิเคชันและเลเยอร์การพัฒนา
เลเยอร์สแต็ค Cloud-Native นี้ประกอบด้วยเทคโนโลยีซอฟต์แวร์สำหรับการสร้างแอปพลิเคชัน Cloud-Native ยกตัวอย่างเช่น นักพัฒนาใช้เทคโนโลยีคลาวด์ เช่น ฐานข้อมูล การส่งข้อความ คอนเทนเนอร์ภาพ และกระบวนการผสานการทำงานอย่างต่อเนื่อง (CI) และกระบวนการส่งออกโค้ดแบบอัตโนมัติ (CD) ในการสร้างแอปพลิเคชันระบบคลาวด์
เครื่องมือการสังเกตและการวิเคราะห์
เครื่องมือการสังเกตและการวิเคราะห์ตรวจสอบ ประเมิน และปรับปรุงสคุณภาพของระบบของแอปพลิเคชันคลาวด์ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้เครื่องมือในการตรวจสอบเมตริก เช่น การใช้งาน CPU หน่วยความจำ และความล่าช้า เพื่อให้แน่ใจว่าคุณภาพการให้บริการของแอปนั้นไม่มีหยุดชะงัก
การประมวลผลบนระบบคลาวด์คืออะไร?
การประมวลผลบนคลาวด์หมายถึงโครงสร้างพื้นฐานของซอฟต์แวร์ที่โฮสต์บนศูนย์ข้อมูลภายนอกและให้บริการแก่ผู้ใช้โดยรูปแบบชำระเมื่อใช้งาน บริษัทไม่ต้องจ่ายค่าเซิร์ฟเวอร์ที่มีราคาแพงและดูแลรักษาเซิร์ฟเวอร์ แต่พวกเขาสามารถใช้บริการ Cloud-Native ตามความต้องการได้ เช่น การจัดเก็บฐานข้อมูลและการวิเคราะห์จากผู้ให้บริการคลาวด์
การประมวลผลบนคลาวด์เมื่อเทียบกับ Cloud Native
การประมวลผลบนคลาวด์เป็นทรัพยากร โครงสร้างพื้นฐาน และเครื่องมือที่ผู้ให้บริการระบบคลาวด์จัดสรรให้ตามความต้องการ ในขณะเดียวกัน Cloud Native นั้นเป็นวิธีการที่สร้างและเรียกใช้โปรแกรมซอฟต์แวร์ด้วยรูปแบบการประมวลผลบนคลาวด์
การทำให้ใช้งานระบบคลาวด์ได้คืออะไร
แอปพลิเคชันที่ถูกทำให้ใช้งานระบบคลาวด์ได้คือแอปพลิเคชันระดับองค์กรรุ่นเก่าที่ทำงานอยู่บนศูนย์ข้อมูลในองค์กรแต่ได้รับการแก้ไขเพื่อให้ทำงานบนระบบคลาวด์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงส่วนหนึ่งของโมดูลซอฟต์แวร์ที่จะโยกย้ายแอปพลิเคชันไปยังเซิร์ฟเวอร์ระบบคลาวด์ คุณจึงสามารถใช้โปรแกรมจากเบราว์เซอร์ได้ไปพร้อมกับรักษาไว้ซึ่งคุณสมบัติเดิม
รูปแบบ Cloud Native เมื่อเทียบกับรูปแบบที่ทำให้ใช้งานระบบคลาวด์ได้
Cloud Native หมายถึงโปรแกรมที่ถูกออกแบบมาเพื่ออยู่ในระบบคลาวด์ตั้งแต่เริ่มต้น Cloud Native นั้นเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีคลาวด์ต่างๆ เช่น ไมโครเซอร์วิส เครื่องมือควบคุมระบบคอนเทนเนอร์ และการปรับขนาดอัตโนมัติ แอปพลิเคชันที่ถูกทำให้ใช้งานระบบคลาวด์ได้ไม่ได้มีความยืดหยุ่นหรือความสามารถในการเพิ่มทรัพยากรได้เหมือนกับ Cloud-Native นี้เป็นเพราะแอปพลิเคชันที่ถูกทำให้ใช้งานระบบคลาวด์ได้นั้นยังคงรักษาโครงสร้างที่ไม่ยืดหยุ่นไว้แม้จะย้ายมายังระบบคลาวด์แล้ว
ทำไมต้องสร้างแอปพลิเคชัน Cloud-Native บน AWS
AWS นำเสนอเทคโนโลยี เครื่องมือ และบริการที่จำเป็นเพื่อพัฒนาแอปพลิเคชัน Cloud-Native ที่ใช้งานได้ คุณสามารถมุ่งเน้นไปที่การสร้างผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์แทนที่จะต้องกังวลเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานพื้นฐานได้:
- ย้ายไปยังคอนเทนเนอร์ที่มีการจัดการบน AWS เพื่อลดความซับซ้อนของการดำเนินงาน และลดค่าใช้จ่ายในการจัดการ
- สร้างแอปพลิเคชันหรือฟีเจอร์ใหม่โดยใช้เทคโนโลยีที่ไม่ต้องใช้เซิร์ฟเวอร์ด้วย AWS Lambda และฐานข้อมูลที่สร้างตามวัตถุประสงค์ด้วย Amazon DynamoDB
- ใช้เครื่องมืออย่าง AWS Amplify และ AWS CDK เพื่อเพิ่มความคล่องตัวและเร่งการพัฒนา
- เลือกจาก ฐานข้อมูล AWS แบบเชิงสัมพันธ์และไม่สัมพันธ์กัน 15 ฐานข้อมูล เพื่อรองรับสถาปัตยกรรมไมโครเซอร์วิสและความต้องการในการใช้งานสมัยใหม่ เช่น การจัดเก็บเอกสารและคู่คีย์-ค่า
- ใช้พอร์ตโฟลิโอของบริการ DevOps และ เครือข่ายพันธมิตร ต่างๆ ที่กว้างขวางของเราเพื่อช่วยพัฒนาและเรียกใช้แอปพลิเคชันได้เร็วขึ้น และสร้างแอปพลิเคชันตามขนาดที่เหมาะสม
เริ่มต้นใช้งานแอปพลิเคชัน Cloud-Native ด้วยการสร้าง บัญชี AWS เลยวันนี้